[หางานในญี่ปุ่น] สิ่งที่ควรเขียนลงในช่อง “ทำไมถึงอยากสมัครงานนี้”

Oyraa

การกรอกประวัติและเขียนใบสมัครเป็นเรื่องปกติที่เราต้องเจอเมื่อสมัครงานหรือย้ายที่ทำงานในญี่ปุ่น และในนั้นก็มักจะมีช่อง “เหตุผลที่อยากสมัครงาน” (志望動機) อยู่ด้วย หลายๆ คนก็คงเลว่าจะเขียนอะไรลงไปดี ทั่วไปแล้วใบสมัครเป็นด่านแรกที่จะทำให้บริษัทได้รู้ถึงประสบการณ์และความสามารถของผู้สมัคร การนำเสนอตนเองในขั้นตอนนี้จึงจำเป็นต้องเขียนอย่างรอบคอบมากทีเดียว วันนี้เราจึงจะมาอธิบายสิ่งที่ควรเขียนลงไปในสมัครกัน

เหตุผลนั้นสำคัญไฉน? ทำไมบริษัทญี่ปุ่นถึงอยากรู้จุดประสงค์ในการสมัครงาน

ที่บริษัทญี่ปุ่นมักจะให้ความสำคัญกับจุดประสงค์ในการทำงาน ก็เพราะอยากหาบุคลากรให้ได้ตรงกับความต้องการมากที่สุดนั่นเอง “อยากจะทำอะไรในบริษัท” “ทำอะไรที่บริษัทนี้ได้บ้าง” “ทำไมถึงสนใจเข้าบริษัท” สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่ผู้จ้างงานอยากรู้ ดังนั้นก็มาเขียนสิ่งเหล่านี้ลงในช่องแรงจูงใจกันเถอะ

ถ้าหากไม่ทำความรู้จักกับบริษัทที่สมัครให้ดีจริงๆ ก็คงไม่สามารถตอบ “เหตุผลที่อยากทำงานกับบริษัทนี้” ให้คนอื่นยอมรับได้อย่างแน่นอน ดังนั้นจึงควรหาข้อมูลให้ครบถ้วน ไม่เพียงแต่เงื่อนไขในการสมัครหรือประเภทธุรกิจเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงแนวคิดที่บริษัทให้ความสำคัญ หรืองานที่บริษัทกำลังลงแรงอยู่ด้วย ก็คือหาเหตุผลว่า “ทำไมต้องเป็นบริษัทนี้เท่านั้น” นั่นเอง!

การเขียนใบสมัครงานเหมือนกันไม่ว่าจะเป็นบริษัทไหนนั้นไม่ใช่เรื่องดี ควรเขียนเหตุผลว่าทำไมถึงไม่อยากทำงานที่บริษัทอื่นๆ ต้องเป็นบริษัทที่กำลังยื่นอยู่เท่านั้น หากสามารถตอบได้ตรงจุด ทางฝั่งบริษัทก็จะมองว่าเราเป็นคนมีความสามารถที่จะทำประโยชน์ให้กับบริษัทได้ในระยะยาว และแน่นอนว่าโอกาสถูกจ้างงานก็จะเพิ่มขึ้นด้วย

หากไม่ทราบว่าประสบการณ์ที่มีเหมาะกับการทำงานแบบไหน หรือมีความกังวลเกี่ยวกับการหางานในญี่ปุ่น ก็สามารถปรึกษาเอเย่นต์หางานได้

หากคุณกำลังหางานหรือย้ายงานในญี่ปุ่น เราขอแนะนำ tsunagu Local Jobs
https://jobs.tsunagulocal.com/

สถานการณ์ที่จะต้องเขียนจุดประสงค์ในการสมัครงาน

ในการสมัครงาน ที่ที่เรามักจะต้องเขียนจุดประสงค์ในการทำงานลงไปมีดังนี้

① ประวัติการทำงานและการศึกษา (履歴書)
ในกรณีที่หาบริษัทและยื่นสมัครงานด้วยตนเอง ในใบประวัติมักจะมีช่องให้กรอกจุดประสงค์ในการสมัครงานด้วย

② เมื่อเอเย่นต์หางานแนะนำตรงกับบริษัท
หากใช้บริการเอเย่นต์หางาน เมื่อทางเอเย่นต์เจอผู้สมัครที่สามารถแนะนำให้กับบริษัทได้ เอเย่นต์จะเป็นผู้แนบเอกสารสำคัญต่างๆ ส่งให้กับบริษัทโดยตรง โดยปกติแล้วผู้สมัครจะต้องคิดถึงจุดประสงค์ที่จะสมัครงานด้วยตนเอง แต่หากใช้เอเย่นต์ที่มีบริการหลากหลาย ก็อาจมีพนักงานที่คอยช่วยให้คำแนะนำจากสายตาบุคคลที่สาม หรือคอยตรวจสอบภาษาญี่ปุ่นให้ ก็ทำให้สบายใจได้มากขึ้น

③ การสัมภาษณ์
ผู้สัมภาษณ์จะถามคำถามต่างๆ กับคุณโดยตรง คำถามในการสัมภาษณ์มักจะเป็นคำถามที่ได้ยินบ่อย เพราะฉะนั้นก็ควรคิดคำตอบในหัวและเขียนคร่าวๆ ทิ้งไว้ก่อน นอกจากนี้ควรย่อประวัติส่วนตัวเตรียมไว้แบบสั้นๆ และลองซ้อมโดยจินตนาการเวลาถูกถามคำถามต่างๆ ดู

สิ่งสำคัญในการเขียนจุดประสงค์ในการสมัครงาน

มีสามจุดหลักๆ ที่ต้องคำนึงถึง

① นำเสนอว่าเราสามารถทำให้บริษัทมีผลประกอบการดีขึ้นได้
บริษัทมองหาผู้สมัครที่มีคุณสมบัติตรงตามที่ต้องการ หรือว่าตรงกับตำแหน่งที่บริษัทต้องการอยู่ ดังนั้นเมื่อเขียนใบสมัครก็ควรจะสื่อออกไปให้ดีว่า “เคยทำงานอะไรมา ประสบการณ์ที่ผ่านมาเป็นอย่างไรบ้าง” หรือ “จะนำประสบการณ์ที่ผ่านมาไปใช้หลังการเปลี่ยนงานอย่างไรบ้าง”

② นำเสนอว่าเราเข้ากับบรรยากาศของบริษัท
บริษัทให้ความสนใจว่าผู้สมัครจะสามารถเข้ากับพนักงานคนอื่นๆ และบรรยากาศในบริษัทได้หรือไม่ รวมถึงเข้ากับภาพในอนาคตที่บริษัทกำลังวาดไว้หรือไม่ ดังนั้นเวลาเขียนใบสมัคร ก็อย่าลืมดูว่าเว็บไซต์ของบริษัทหรือใบประกาศสมัครงานเขียนอะไรไว้บ้าง และทำความเข้าใจกับวิสัยทัศน์และวัฒนธรรมขององค์กรให้ดี
ทั้งสองอย่างนี้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละบริษัท หากสามารถสื่อสารออกไปว่าคุณเข้าใจและสามารถตอบสนองกับสิ่งเหล่านี้ได้ ก็จะทำให้บริษัทเห็นว่าคุณสนใจอยากทำงานที่นี่จริงๆ

③ นำเสนอว่าตนเองสามารถทำงานได้ยาวนาน (มี passion)
เมื่อถ่ายทอดไปว่าเรามี passion บริษัทจะมองว่าคุณสามารถทำงานให้บริษัทได้นาน ต่อให้ล้มเหลวก็ยังจะพยายามตั้งใจทำต่อไป! นอกจากนี้ยังควรสื่อสารไปด้วยว่าหลังจากเข้าทำงานแล้วต้องการทำงานแบบไหน หากสายอาชีพที่คุณต้องการตรงกับงานที่บริษัทให้ความสำคัญ ใบสมัครของคุณก็จะดูมีภาษีมากขึ้นแน่นอน!

ใบสมัครแบบนี้ใช้ไม่ได้!

นอกจากจะเขียนสิ่งที่ควรเขียนแล้ว ก็มาระวังสิ่งที่ไม่ควรพูดถึงกันดีกว่า ต่อไปนี้เป็น 3 สิ่งที่ไม่ควรใส่ลงไปในช่องจุดประสงค์การสมัคร แม้ว่าจะเป็นเรื่องจริง แต่ภาพลักษณ์ของคุณก็จะดูแย่ไปเลยล่ะ

① พูดแต่เรื่องวันหยุด เงินเดือนและสวัสดิการ
แม้ว่าว่าจำนวนวันหยุดกับเงินเดือนจะเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้สมัครงานนี้จริง แต่การพูดออกไปนั้นจะทำให้ผู้สัมภาษณ์คิดว่า “ถ้าเจอที่ที่มีเงื่อนไขดีกว่านี้ก็จะย้ายไปบริษัทอื่นทันทีแน่ๆ” ได้

② พูดถึงข้อเสียของงานเก่า
ถ้าร่ายยาวแต่ข้อเสียของสังคมหรือเนื้อหางานในบริษัทเก่า อาจทำให้ถูกมองว่า “เป็นคนที่มองเห็นแต่ข้อเสียของบริษัท ไม่ว่าจะที่ไหนก็ตาม” ซะได้!

③ แสดงความเป็นผู้รับอย่างเดียว เช่น บอกว่าอยากให้สอนงานให้
โดยเฉพาะคนที่ย้ายที่ทำงาน บริษัทใหม่ของคุณกำลังมองหาคนที่มีความสามารถอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นจงกล่าวถึงประสบการณ์ที่ผ่านมา แล้วก็พูดถึงความสามารถของตนเองกันดีกว่า

④ “อยากสร้างสะพานความสัมพันธ์ระหว่างประเทศบ้านเกิดกับญี่ปุ่น” “อยากใช้ความสามารถทางภาษา xx”
ทั้งสองประโยคนี้เป็นสิ่งที่ผู้สมัครงานชาวต่างชาตินิยมพูด แต่บอกเลยว่าเหตุผลแค่นี้ไม่ได้หนักแน่นพอ! คุณจะต้องพูดถึงว่าคุณสามารถทำอะไรให้กับบริษัทได้บ้างอย่างเฉพาะเจาะจงด้วย
ไม่ใช่แค่บอกว่าอยากจะสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ แต่ต้องบอกด้วยว่าจะสร้างความสัมพันธ์นี้ได้อย่างไร หรือถ้าจะบอกว่าอยากใช้ความสามารถทางภาษา ก็ต้องบอกด้วยว่าจะใช้ในงานแบบไหนนั่นเอง

ตัวอย่างใบสมัครแยกตามประเภทธุรกิจ

ต่อไปเรามาดูตัวอย่างใบสมัครสำหรับธุรกิจหลักๆ กันดีกว่า เมื่อจะกล่าวถึงบริษัทที่กำลังสมัคร อย่าลืมใช้คำยกย่อง เช่น บริษัทของท่าน (御社 หรือ 貴社) หรือ ร้านของท่าน (貴店)

〇 ธุรกิจผลิตเครื่องจักร (ไม่มีประสบการณ์)
自国では6年間、PCの営業販売を経験しました。お客様とコミュニケーションを取りながら、お客様の使用される場面や必要なスペックを把握し、ニーズに合った商品を提案しました。もともと家電全般に興味があり、日本の製造業の現場で新技術の開発に携わりたく、新技術開発に注力している貴社を志望いたしました。前職も未経験から始めましたが、商品に関する知識を積極的に学んで意欲的に仕事に取り組みました。貴社でも、まずは作業工程の中間地点である機械加工を担当して技術力を身に着け、将来的には新技術の開発メンバーに加わりたいと考えています。

ผมทำงานในธุรกิจขายคอมพิวเตอร์ที่ประเทศของผมมา 6 ปี ได้พูดคุยกับลูกค้า ทำความเข้าใจกับสภาพการปฏิบัติงานและสเปกที่ลูกค้าต้องการ และนำเสนอสินค้าที่เหมาะสมและตอบสนองความต้องการให้แก่ลูกค้า ผมมีความสนใจในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้ามาตลอด และอยากทีส่วนร่วมในการพัฒนาเทคนิคใหม่ๆ ในการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าญี่ปุ่น ผมจึงมาสมัครที่บริษัทของท่านซึ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรมเหล่านี้ ถึงแม้ว่าผมจะเริ่มทำงานที่เก่าโดยไม่มีประสบการณ์ แต่ผมก็มีความใฝ่รู้ คอยศึกษาสินค้าต่างๆ อย่างตั้งใจ และปฏิบัติงานด้วยความกระตือรือร้นมาโดยตลอด หากได้ทำงานที่บริษัทของท่าน ผมก็ตั้งใจที่จะเริ่มด้วยการดูแลเครื่องจักรซึ่งเป็นหัวใจในการผลิตเพื่อเรียนรู้ทักษะทางเทคนิคต่างๆ ก่อน หลังจากนั้นจึงเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการพัฒนานวัตกรรม

〇 อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม พนักงานครัว
私はこれまで、自国で韓国料理店のキッチンスタッフとして勤務してきました。食材の仕入れやメニューの考案、スタッフと連携して調理、盛り付け、料理提供を行いました。これまでは○○料理や○○料理を中心に調理を行ってきましたが、日本ではさらに料理の幅を広げたく、創作和食料理店に勤めたいと考えました。貴店では素材の味を最大限に活かし、見た目にも美しいメニューを提供されています。私も料理人としてこれまでに学んできた食材の知識や調理技術を活かし、貴店の創作料理の幅を広げることで貢献したいと思い、志望いたしました。

ผมทำงานเป็นพนักงานครัวในร้านอาหารเกาหลีมาจนถึงปัจจุบัน เนื้อหาของงานมีทั้งการจัดซื้อวัตถุดิบ การคิดเมนู รวมถึงการปรุงและการเสิร์ฟอาหารร่วมกับพนักงานอื่นๆ ที่ผ่านมา ผมมุ่งเน้นไปที่อาหาร xx และ xx แต่ผมต้องการขยายขอบเขตของอาหารในญี่ปุ่นด้วย จึงสนใจทำงานที่ร้านอาหารญี่ปุ่น ร้านของท่านใช้ประโยชน์จากส่วนผสมรสเลิศอย่างคุ้มค่า ทั้งยังเสิร์ฟอาหารที่หน้าตาสวยงามน่ารับประทาน ในฐานะนักประกอบอาหารคนหนึ่ง ผมเองหวังจะนำความรู้เกี่ยวกับอาหารและฝีมือการปรุงรสของตนมาใช้ให้เป็นประโยชน์และช่วยขยายขอบเขตของอาหารในร้านของท่าน จึงตัดสินใจมาสมัครงานนี้

〇 SE (System Engineer)
自国では、〇〇を制作する会社で5年間SEとして勤務しました。PHPを用いた〇〇のサイトを担当し、クライアントとコミュニケーションを取りながらシステムの設計、保守・運用まで行いました。日本では、今までの経験を活かしてさらに多くのスキルを身に着けたいと思い、HP制作を幅広く手がける貴社を志望しました。貴社が開発した顧客管理システムは、PHPを使用しているため、私が自国で培った知識を活かすことができます。PHP以外にも、独学でLinux、MySQLを習得しました。これからさらに〇〇も学び、将来的には貴社の〇〇の業務に携わりたいと考えています。

ฉันทำงานเป็น SE ในบริษัทผลิต OO ที่ประเทศของฉันมาเป็นเวลา 5 ปี ฉันรับผิดชอบดูแลเว็บไซต์ OO โดยใช้ PHP รวมถึงติดต่อสื่อสารกับลูกค้า ติดตั้ง ดูแลและบริหารจัดการระบบ ฉันอยากนำประสบการณ์ที่ผ่านมามาประยุกต์ใช้ในการเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ที่ญี่ปุ่น รวมถึงปฏิบัติงานในบริษัทของท่านที่ผลิตโฮมเพจมากมาย ระบบจัดการลูกค้าที่บริษัทของท่านเป็นผู้คิดค้นนั้นก็ใช้ PHP ด้วยเช่นกัน ดังนั้นฉันจึงสามารถนำความรู้ที่มีใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ นอกจาก PHP แล้ว ฉันยังเรียนรู้ Linux และ MySQL ด้วยตนเอง และกำลังจะศึกษาเรื่อง OO เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์กับงาน OO ในบริษัทของท่านได้

ส่งท้าย

จุดประสงค์การสมัครงานเป็นสิ่งที่คุณใช้บอกบริษัทว่า “ทำไมถึงอยากเข้าบริษัทนี้” ดังนั้นจึงควรพยายามสื่อให้ได้ว่าเป็นที่ไหนไม่ได้แล้ว ต้องเป็นบริษัทนี้เท่านั้น! พร้อมแสดง passion และทักษะของตนเองให้ผู้สัมภาษณ์เห็นอย่างเต็มที่

หากมีคำถาม คำแนะนำ หรือข้อเสนอแนะใดๆ เกี่ยวกับบทความของเรา สามารถติดต่อและติดตามเราผ่านทางเฟซบุ๊กได้เลย !

เนื้อหาในบทความนี้ อัพเดทล่าสุด ณ วันที่เผยแพร่

Oyraa
0 Shares: