การสัมภาษณ์ในญี่ปุ่นแตกต่างจากที่อื่นอย่างไร
ผู้เขียนมีประสบการณ์สัมภาษณ์งานแค่ในบ้านเกิด (สหรัฐอเมริกา) เท่านั้น แต่ก็พูดได้อย่างเต็มปากว่าการสัมภาษณ์งานของประเทศญี่ปุ่นนั้นง่ายกว่าและเครียดน้อยกว่า* เพราะในอเมริกา ผู้สมัครมักจะถูกถามคำถามยากๆ เป็นชุดๆ ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อทดสอบความรู้เชิงปฏิบัติ และทักษะการตัดสินใจโดยเฉพาะ แต่ในญี่ปุ่น คำถามส่วนใหญ่มักจะมีจุดประสงค์เพื่อทำความรู้จักกับผู้สมัครและวัดบุคลิกภาพเสียมากกว่า
การสัมภาษณ์งานในญี่ปุ่นก็มีคำถามยากๆ เช่นกัน แต่โดยรวมแล้วการเตรียมตัวสัมภาษณ์งานจะง่ายกว่ามาก และตราบใดที่คุณหลีกเลี่ยงการทำสิ่งต่างๆ ที่เรากำลังจะกล่าวบทความนี้ ก็มีโอกาสผ่านฉลุยได้แล้วล่ะ
* ในทางกลับกัน การสัมภาษณ์งานแบบตัวต่อตัวในญี่ปุ่นอาจเป็นเรื่องที่ยุ่งยากกว่ามาก เพราะจำเป็นต้องรู้ธรรมเนียมปฏิบัติต่างๆ เป็นอย่างดี เช่น การนั่ง การปิดประตู และออกจากห้องอย่างถูกต้อง ฯลฯ สำหรับข้อมูลและรายละเอียดทั่วไปของการสัมภาษณ์งานในญี่ปุ่น สามารถอ่านบทความของเราเรื่องเคล็ดลับการสัมภาษณ์งานที่บริษัทญี่ปุ่นได้เลย
ข้อควรระวังที่จะทำให้สัมภาษณ์งานไม่ผ่าน
หากทำสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้ รับรองได้เลยว่ามีโอกาสสัมภาษณ์งานไม่ผ่านสูงแน่นอน แม้ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องทั่วๆ ไปที่น่าจะรู้อยู่แล้ว แต่เผื่อเอาไว้หน่อยก็ดีเหมือนกัน
1. มาสาย
การตรงต่อเวลาถือเป็นเรื่องที่ค่อนข้างเป็นสากล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศญี่ปุ่นที่เคร่งครัดเรื่องนี้เป็นพิเศษ การมาสายโดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้าถือเป็นความผิดมหันต์ และยิ่งถ้ามีลูกค้ามาเกี่ยวข้องด้วยแล้วล่ะก็ การปล่อยให้ลูกค้ารอเป็นสิ่งที่ไม่อาจยอมรับได้ ดังนั้น การมาสัมภาษณ์ตรงเวลาจึงสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ความสามารถในการรักษาเวลาของคุณจะถูกตัดสินจากแค่เรื่องนี้เลยทีเดียว
หากเป็นการสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว ควรมาถึงก่อนเวลาประมาณ 10 นาที แต่สำหรับการสัมภาษณ์ออนไลน์ คุณควรเช็กสัญญาณอินเทอร์เน็ตและคุณภาพของวิดีโอ/เสียงล่วงหน้าเพื่อให้พร้อมเข้าสู่การสัมภาษณ์ตามเวลาที่กำหนดไว้
หากพบว่าการเชื่อมต่อมีปัญหาและคิดว่าจะต้องสายแน่ๆ ก็ควรส่งข้อความผ่านอีเมลหรือช่องทางติดต่ออื่นๆ ไปยังผู้สัมภาษณ์ทันที (ควรทำก่อนถึงเวลาที่นัดสัมภาษณ์เอาไว้เพื่อแสดงให้เห็นว่าคุณได้เตรียมตัวและตรงต่อเวลาแล้วแต่เกิดเหตุสุดวิสัยขึ้นจริงๆ)
2. ฉากหลังรกรุงรังและสวมชุดลำลองเกินไป
ญี่ปุ่นค่อนข้างมีความอนุรักษ์นิยม และให้ความสำคัญกับความเป็นทางการ โดยเฉพาะกับเรื่องของธุรกิจ วิธีที่คุณนำเสนอตัวเองในการสัมภาษณ์นั้นมีแนวโน้มที่จะถูกมองว่าเป็นตัวอย่างของวิธีที่คุณจะนำเสนอตัวเองต่อลูกค้าและเพื่อนร่วมงาน จึงควรสร้างความประทับใจที่จะส่งผลต่อการจ้างงาน
ปัจจุบัน ซอฟต์แวร์สำหรับวิดีโอคอลส่วนใหญ่มีฟังก์ชั่นเบลอพื้นหลังให้ได้ใช้งานแล้วก็จริง แต่ทางที่ดีก็ควรตรวจดูให้เรียบร้อยด้วยว่าข้าวของต่างๆ เป็นระเบียบดีไหม บริษัทส่วนใหญ่อาจไม่ได้บังคับให้สวมสูทเต็มยศ แต่อย่างน้อยก็ควรจะแต่งตัวให้ดูเป็นงานเป็นการในระดับหนึ่ง (เช่น เสื้อเชิ้ตคอปก) และให้ผู้สัมภาษณ์ได้เห็นว่าคุณได้เตรียมพร้อมมาเป็นอย่างดี
แน่นอนคุณควรใช้ดุลยพินิจในการตัดสินใจว่าจะสวมสูทหรือไม่ หากจะต้องสัมภาษณ์งานกับบริษัทเก่าแก่หรือเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ซึ่งอาจจะยึดติดอยู่กับมาตรฐานตามสมัยก่อน
3. ใช้แต่ภาษาพูด ไม่ใช้ภาษาสุภาพ
ภาษาสุภาพ (“เทเนโงะ: teineigo”) และภาษารูปยกย่อง (“เคโงะ: keigo”) เป็นความท้าทายยิ่งใหญ่ที่สุดที่ชาวต่างชาติจำนวนมากต้องเผชิญเมื่อเรียนภาษาญี่ปุ่น แต่ควรทำความคุ้นเคยเอาไว้เพราะจะต้องใช้ภาษาสุภาพและภาษารูปยกย่องเป็นประจำทุกวันหากทำงานที่บริษัทญี่ปุ่น
ระหว่างการสัมภาษณ์ ควรแสดงให้ผู้สัมภาษณ์เห็นว่าสามารถสื่อสารภาษาสุภาพได้ โดยการใช้คำว่า เดส (~ desu) หรือ มัส (~ masu) และหลีกเลี่ยงคำแสลงหรือคำพูดแบบสบายๆ ประเภทอื่นๆ ไม่ต้องกลัวว่าจะพูดผิด เพราะแม้แต่คนญี่ปุ่นเองก็ยังมีปัญหากับการใช้ภาษารูปยกย่องเหมือนกัน แต่ทำให้ดีที่สุดเพื่อแสดงให้เห็นว่าคุณพยายามที่จะสุภาพและให้เกียรติ
4. ไม่เข้าใจ แต่ก็แสร้งทำเป็นเข้าใจ
การแสดงให้เห็นว่าคุณเป็นคนที่มีความสามารถในการสื่อสารเป็นหนึ่งในสิ่งที่สำคัญที่สุดของการสัมภาษณ์ ซึ่งสิ่งนั้นจะมาควบคู่กับการถามเพื่อความกระจ่างเมื่อไม่เข้าใจ (และมันจะเกิดขึ้นบ่อยมากตอนทำงาน)
แต่น่าเสียดายที่บางคนกลับเป็นกังวลว่าถ้าพวกเขายอมรับว่าไม่เข้าใจ ผู้สัมภาษณ์อาจคิดว่าภาษาญี่ปุ่นของพวกเขายังไม่ดีพอ เลยเลือกที่จะพยักหน้าและได้แต่หวังว่าจะไม่โดนจับได้ ซึ่งนี่ถือว่าเป็นความผิดพลาดอย่างใหญ่หลวงเลยทีเดียว
ถ้ามีอะไรที่ไม่เข้าใจ ให้ทำความเข้าใจกับผู้สัมภาษณ์ (อย่างสุภาพ โดยไม่พูดอะไรอย่างเช่นคำว่า “เอ๊ะ!?”) ขอให้พูดซ้ำหรือเรียบเรียงคำถามใหม่จนกว่าจะเข้าใจ ตัวอย่างเช่น
ถ้าฟังไม่ทัน ให้พูดว่า
申し訳ございません。聞き取れませんでしたので、もう一度おしゃって頂けませんか?
Moushiwake gozaimasen Kikitoremasen deshitanode mouichido oshatte itadakemasenka
(ขอโทษครับ/ค่ะ ผม/ดิฉันฟังไม่ทัน รบกวนช่วยพูดซ้ำอีกครั้งได้ไหมครับ/คะ)
หากคิดว่าเข้าใจ แต่ต้องการจะสอบถามเพื่อยืนยันให้แน่ใจ ให้พูดว่า
すみません。[meaning]の解釈で問題なかったでしょうか?
Sumimasen [meaning]nokaishakude mondainakattadeshouka
(ขอโทษครับ/ค่ะ ผม/ดิฉันเข้าใจ [ความหมาย] ถูกต้องแล้วใช่ไหมครับ/ค่ะ?)
หรือถ้าได้ยินสิ่งที่ผู้สัมภาษณ์พูด แต่ไม่รู้ความหมายของมัน ก็ควรถามว่า
すみません。[Something]とはどういう意味でしょうか?
Sumimasen [Something]towa douiuimideshouka
(ขอโทษครับ/ค่ะ [คำ] แปลว่าอะไรหรือครับ/ค่ะ?)
การถามเช่นนี้จะแสดงให้เห็นว่าคุณสามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ และจะสร้างความน่าเชื่อถืออีกด้วย สิ่งที่แย่ที่สุดคือการถูกจับได้ว่าแกล้งทำเป็นเข้าใจอะไรบางอย่างทั้งที่ความจริงแล้วไม่เข้าใจ และจะทำให้สัมภาษณ์งานไม่ผ่านอย่างแน่นอน
5. ไม่ถามคำถาม
ในช่วงท้ายของการสัมภาษณ์ คุณจะถูกถามว่า 質問はありますか? (คุณมีคำถามอะไรไหม?) พอถึงตอนนี้ คุณควรมีคำถามสองสามข้อที่เตรียมไว้ล่วงหน้า เพราะนอกจากนี่จะเป็นโอกาสในการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับนายจ้างในอนาคตแล้ว ก็ยังเป็นโอกาสให้พวกเขาได้วัดทักษะการสื่อสารและความสนใจในตำแหน่งงานอีกด้วย
แต่ไม่ควรจะถามอะไรที่สามารถหาคำตอบง่ายๆ ได้จากเว็บไซต์บริษัทหรือคำถามที่ผู้สัมภาษณ์ได้ตอบไปแล้วในช่วงของการสัมภาษณ์เพราะจะทำให้ดูเหมือนว่าไม่ตั้งใจฟัง
6. ตอบสั้นๆ เข้าไว้
ใครที่อยากสัมภาษณ์ให้ไม่ผ่าน หนึ่งในสิ่งที่ดีที่สุดคือการตอบหลายๆ คำถามให้สั้นและคลุมเครือเข้าไว้ โดยเฉพาะในฐานะชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในญี่ปุ่นแล้ว การสัมภาษณ์ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของการตัดสินทักษะในการสื่อสารของคุณ ผู้สัมภาษณ์จะชอบฟังคำตอบที่มีตัวอย่างเฉพาะเจาะจง ไม่ใช่แค่คำพูดทั่วๆ ไป ฉะนั้น อย่าลืมเตรียมประเด็นไว้พูดถึงสำหรับแต่ละคำถามที่อาจจะเกิดขึ้นในการสัมภาษณ์ได้
เนื้อหาต่อไปนี้คือคำถามที่พบได้ทั่วไปในการสัมมภาษณ์ โดยจะมีตัวอย่างคำตอบที่ดีและไม่ดี ด้วยความที่ผู้เขียนไม่ใช่เจ้าของภาษา ก็อาจจะมีข้อผิดพลาดอยู่บ้าง แต่หวังว่ามันจะยังใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงที่มีประโยชน์ได้
หมายเหตุ : เนื้อหาส่วนนี้ประกอบด้วยภาษาญี่ปุ่นในระดับที่จำเป็นต่อการสัมภาษณ์และไม่มีการแปลจากภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาไทย หากคุณมีปัญหากับการอ่านตัวอักษรคันจิ เราขอแนะนำให้ใช้ตัวช่วยเสริมอย่าง Rikaikun เพื่อช่วยให้อ่านตัวอย่างคำตอบภาษาญี่ปุ่นได้
เชิญแนะนำตัวเอง (自己紹介をして下さい)
นี่เป็นคำถามที่ค่อนข้างมั่นใจได้เลยว่าจะถูกถามในช่วงต้นของการสัมภาษณ์อย่างแน่นอน เพราะฉะนั้นคุณควรจะเตรียมความพร้อมในส่วนของการแนะนำตัวให้ดี ตัวอย่างการแนะนำตัวที่ไม่ดีอาจเป็นดังนี้
こんにちは。スミスと申します。私は現在英語教師として働いています。よろしくお願いいたします。
นี่ถือเป็นการแนะนำตัวเองที่ไม่ดีเนื่องจากสั้นเกินไป หากไม่แน่ใจว่าจะพูดอะไรบ้างดี นี่คือตัวอย่างหัวข้อต่างๆ ที่ควรพูดในการแนะนำตัว
- ชื่อ
- อายุ
- ประเทศ / จังหวัดบ้านเกิด
- ระดับการศึกษาสูงสุด
- ประวัติการทำงานจนถึงปัจจุบัน (หรือรายละเอียดเกี่ยวกับวิชาเอก / กิจกรรมที่มหาวิทยาลัยหากเป็นบัณฑิตใหม่)
- งานอดิเรก / ความสนใจ
- เหตุผลที่มาสมัครงานนี้
ตัวอย่างการแนะนำตัวที่ดีอาจเป็นดังนี้
こんにちは。スミスと申します。今年29歳になりました。出身はアメリカのシアトルで、シアトルにあるワシントン大学でコンピューターサイエンスを勉強しました。卒業後はシアトルにあるITスタートアップ企業で4年ほどエンジニアとしてアプリ開発をしていました。そして3年前ぐらいに、日本に引っ越す機会があったため、初めて来日をしました。日本に来た頃はまだ日本語能力が足りなかったため、エンジニアではなく、英語教師として働いていました。その時、夜は日本語学校に通って、日本語の勉強もしていました。そして、最近日本語能力試験のN2を取得できましたので、改めてエンジニアとして働きたいと思います。趣味はRPGゲームなので、御社が作るスマートフォンゲームにとても興味があり、応募しました。本日はよろしくお願いいたします。
ทำไมคุณถึงมาที่ญี่ปุ่น?(日本に来た理由を教えて下さい)
ในฐานะของชาวต่างชาติที่มาสมัครงานในญี่ปุ่น นี่เป็นอีกคำถามหนึ่งที่มักจะถูกถามในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป อาจดูเป็นคำถามที่ไม่ซับซ้อน แต่ก็มักจะใช้วัดระดับความมุ่งมั่นในการใช้ชีวิตและการทำงานระยะยาวในญี่ปุ่น ทางที่ดีที่สุดคือควรบอกไปตามความจริงว่าเพราะอะไรคุณถึงมาที่ญี่ปุ่น แต่พยายามหลีกเลี่ยงการพูดอะไรที่อาจบอกเป็นนัยได้ว่าตั้งใจจะอยู่แค่สั้นๆ เท่านั้น ตัวอย่างเช่น
少しの間、外国に住んでみたかったから日本に来ました。
คำตอบทำนองนี้ให้ความรู้สึกว่ามีแนวโน้มที่จะย้ายกลับไปยังประเทศของตัวเองในอีกหนึ่งหรือสองปีข้างหน้า ซึ่งอาจทำให้บริษัทเลือกที่จะไม่จ้างคุณได้ แทนที่จะตอบแบบนั้น ควรเน้นไปยังสิ่งที่ชอบเกี่ยวกับญี่ปุ่นและให้คำตอบที่ทำให้ดูเหมือนว่าจะอยู่ที่นี่ต่อไปยาวๆ ตัวอย่างเช่น
昔から日本の文化に興味を持っていましたので、ずっと日本に引っ越したかったです。実際に住んでみたら、とても住みやすい国だと気づきましたので、今は日本でキャリアを築いて行きたいと思っています。
ทำไมคุณถึงเลือกบริษัทของเรา? (当社を選んだ理由を教えてください)
เมื่อถูกถามด้วยคำถามนี้ สิ่งที่สำคัญมากๆ คือการให้คำตอบที่แสดงให้เห็นว่าได้หาข้อมูลของบริษัทมาอย่างละเอียดและอยากที่จะทำงานที่นี่จริงๆ คำตอบที่ไม่ดีคือคำตอบที่เน้นไปยังข้อเสียของงานเก่า หรือเรื่องเงินและผลประโยชน์ต่างๆ ของงานนี้โดยไม่ลงรายละเอียดว่าทำไมถึงคิดว่าตัวเองเหมาะสมกับตำแหน่งนี้ ตัวอย่างเช่น
今の会社は結構ブラックで、残業がとても多いです。御社は給与が高く、残業が少ないので選びました。
ควรตอบโดยมุ่งเน้นไปที่ทักษะเฉพาะและประสบการณ์ที่เหมาะกับตำแหน่งของคุณ และเหตุผลที่คิดว่าจะชอบการทำงานที่นี่ เช่น
私の趣味がゲームなので、御社が作るスマートフォンゲームに興味があります。仕事としてゲームを開発したことはありませんが、アメリカの会社でスマートフォンアプリ開発の経験はあって、個人でゲームを作ったことはありますので、このポジションに必要なスキルは十分あると感じます。
งานก่อนหน้านี้ทำอะไรบ้าง?(前の仕事ではどんな業務をしていましたか?)
สำหรับการตอบคำถามนี้ นอกจากรายละเอียดเกี่ยวกับหน้าที่แล้ว ก็ควรพูดถึงเรื่องราวความสำเร็จและผลลัพธ์ที่ได้จากการทำงานเท่าที่จะทำได้ คำตอบที่ไม่ดีอาจรวมถึงการพูดเฉพาะสิ่งที่ทำพร้อมกับรายละเอียดสั้นๆ แบบนี้
現在英会話教師として働いています。日常英語を日本人の生徒に教えます。前の会社ではフロントエンドエンジニアとして働いていました。
ตัวอย่างคำตอบข้างต้นเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีเพราะบอกแค่สิ่งที่เคยทำโดยแทบจะไม่ได้ลงรายละเอียดเลยว่าทำอย่างไรหรือทำอะไรสำเร็จบ้าง นี่เป็นตัวอย่างคำตอบที่ดีกว่า
英会話の仕事で、1対1のレッスンを行って、子供から大人までの生徒たちに英語の日常会話スキルを教えています。自分でレッスンの内容も企画して、楽しい英語のゲームも考えて作っています。アメリカの会社で自社の金融アプリを開発しました。入社した頃はテストやコーディングなどの作業を4人いるチームで行ましたが、最後の一年間ぐらいは上流工程を担当していました。その年、開発していたアプリはアップストアで金融カテゴリで3位まで人気になりました。
จนถึงตอนนี้ อะไรคือความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่สุด? (これまでで一番の成功体験は何ですか?)
ข้อผิดพลาดที่พบได้บ่อยเมื่อตอบคำถามนี้คือตอบเพียงแค่ความสำเร็จของคุณคืออะไรโดยไม่บอกถึงรายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอนต่างๆ ในการบรรลุเป้าหมาย ตัวอย่างคำตอบที่ไม่ดีอาจเป็นดังนี้
アメリカの会社で開発したアプリがアップストアで人気になったことがこれまでで一番の成功体験です。
คำตอบนี้สั้นเกินไปและไม่ได้อธิบายถึงสิ่งที่ทำเพื่อให้ประสบความสำเร็จ ตัวอย่างที่ดีกว่าอาจเป็น
先ほども言いましたが、開発していたアプリがアプストアの金融カテゴリで3番まで上がったことがこれまで一番の成功体験でした。アプリをそこまで成長させるには、ユーザのフィードバックを重視して、小さい改善をPDCAのサイクルで積み重ねるのが大事でした。チームの構成も大切で、皆が自分の役割をきちんと把握して、責任をとることで生産性をあげることが出来ました。
ช่วยเล่าเรื่องเวลาที่ทำงานพลาดหน่อยสิ (仕事で失敗をしたエピソードを教えてください)
เช่นเดียวกับคำถามก่อนหน้า หลักสำคัญในการตอบคำถามนี้คือต้องไม่เพียงแค่อธิบายว่าความผิดพลาดของคุณคืออะไร แต่ยังต้องรวมถึงขั้นตอนต่างๆ ที่ทำเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาด และการป้องกันไม่ให้ความผิดพลาดนั้นเกิดขึ้นซ้ำอีก ตัวอย่างที่ไม่ดีอาจเป็นเช่นนี้
あメリカの会社である時同僚にコードの修正を頼みました。本当はメールやチャットで残せばよかったのに、口頭だけで伝えました。結果として、彼が依頼の内容を勘違いして、リリースに間に合いませんでした。大変でした。
คำตอบนี้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับความผิดพลาดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และไม่ได้พูดถึงวิธีที่ใช้จัดการหลังจากที่ทำพลาดเลย ตัวอย่างคำตอบที่ดีกว่าอาจเป็นดังนี้
アメリカの会社で、ある時、同僚にコードの修正を口頭で頼みました。リリースが翌日でしたので、急いで修正する必要がありました。しかし、彼はその修正が次回のリリースのためだと勘違いしたので、すぐにやりませんでした。その結果、コードが修正されなくて、リリースに間に合いませんでした。その時以降、誤解が起こらないように、口頭だけじゃなくて、必ずしもメールやチャットで残すようにしていました。
อยากทำอาชีพแบบไหนในอนาคต? (今後どういうキャリアを歩んでいきたいですか?)
นี่เป็นคำถามที่ดูเผินๆ แล้วเป็นคำถามสบายๆ แต่ในความเป็นจริงแล้วถูกใช้เพื่อวัดความทะเยอทะยานของผู้สมัคร รวมถึงความสามารถในการทำให้แผนการของพวกเขาเป็นจริง ตัวอย่างคำตอบที่ไม่ดีอาจเป็น
正直に言うと、そこまでは考えていますん。とりあえず御社みたいな会社で働きたいと思います。
อาจจะดูเป็นคำตอบที่ซื่อสัตย์และตรงไปตรงมา แต่มันไม่ได้สร้างความประทับใจที่ดีให้กับผู้สัมภาษณ์เลย เพราะพวกเขากำลังมองหาคำตอบที่แสดงให้เห็นถึงความสนใจและความทะเยอทะยานที่สอดคล้องกับตำแหน่งงาน แม้ว่าจะไม่มีเป้าหมายที่เป็นรูปธรรมแน่ชัด แต่ก็ควรจะเล่าถึงเรื่องราวบางอย่างที่แสดงให้เห็นว่าเป้าหมายของคุณคืออะไร ดังเช่นในตัวอย่างคำตอบต่อไปนี้
数年御社みたいなゲーム会社に配属して、経験を沢山積み重ねてから、将来は自分のゲーム会社を作りたいと思います。
อย่าทำพลาด แล้วจะไปได้สวยกับการหางานใหม่อย่างแน่นอน!
เราหวังว่าเคล็ดลับเหล่านี้จะเป็นประโยชน์กับการหางานของคุณไม่มากก็น้อย สุดท้ายนี้ เราขอให้คุณโชคดีในการหางาน!
หากมีคำถาม คำแนะนำ หรือข้อเสนอแนะใดๆ เกี่ยวกับบทความของเรา สามารถติดต่อและติดตามเราผ่านทางเฟซบุ๊กได้เลย !
เนื้อหาในบทความนี้ อัพเดทล่าสุด ณ วันที่เผยแพร่