ในอดีต หากนักท่องเที่ยวเจ็บป่วยตอนอยู่ที่ญี่ปุ่น พวกเขาจะต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมากเพื่อที่จะได้พบแพทย์ที่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ ร้าน Matsumoto Kiyoshi หรือที่คนไทยเรียกกันติดปากว่า “ร้านป้ายเหลือง” แต่คนญี่ปุ่นจะเรียกสั้นๆ ว่า Matsukiyo (มัตสึคิโยะ) เป็นร้านขายยาที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น และกำลังจัดการกับปัญหานี้โดยได้เพิ่มคำอธิบายภาษาอังกฤษเข้าไปในกล่องยาสามัญประจำบ้านของทางร้านให้ครบภายในปี 2020 ถ้าคุณไม่รู้จักยี่ห้อ “matsukiyo” สักเท่าไหร่ และอยากเห็นว่าของที่คุณควรมองหาในครั้งหน้าที่ไปญี่ปุ่นนั้นหน้าตาเป็นยังไง เราจะพาไปดูกัน!
ถึงแม้ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในญี่ปุ่นจะเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากตลอดหลายปีที่ผ่านมา แต่ยาของญี่ปุ่นหลายตัวกลับยังไม่มีภาษาอังกฤษเขียนกำกับหรือบอกวิธีใช้เอาไว้ เป็นผลให้นักท่องเที่ยวจำนวนมากต้องจ่ายเงินก้อนโตเพื่อเข้าพบแพทย์ที่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ ทั้งๆ ที่การซื้อยาสามัญจากร้านขายยาก็เพียงพอแล้ว โดยเฉพาะเมื่องานกีฬาโอลิมปิก 2020 ที่ญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพกำลังจะมาถึงแล้ว นี่จึงกลายเป็นปัญหาหลักที่ต้องจัดการ
ร้าน Matsumoto Kiyoshi ซึ่งเป็นร้านขายยาที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่นได้ตระหนักถืงปัญหาตรงจุดนี้ และได้เริ่มที่จะลงมือแก้ปัญหา หากคุณเคยไปเที่ยวที่ญี่ปุ่น คุณอาจจะเคยเห็นร้านนี้ตั้งอยู่หลายสาขา และนี่เป็นภาพของสาขาหนึ่งในย่านอิเคะบุคุโระ
ร้าน Matsumoto Kiyoshi ตั้งเป้าไว้ว่าจะพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่เป็นตัวยาของทางร้านเองทั้งหมด ภายใต้ชื่อ “matsukiyo” ให้เสร็จสิ้นในปี 2020 ถึงแม้จะมีแค่คนญี่ปุ่นและนักท่องเที่ยวส่วนน้อยเท่านั้นที่รู้จักยี่ห้อนี้ แต่ก็มีหลายคนที่อาจเคยเห็นสินค้าของทางร้านมาก่อน และนี่คือสินค้าบางส่วนที่อยู่ภายใต้ยี่ห้อ “matsukiyo”
ความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของแพ็คเกจก็คือการภาษาอังกฤษเข้าไป ถึงแม้ว่าจะไม่ถูกต้องแบบ 100% แต่ก็เพียงพอที่จะอธิบายได้ว่ายาแต่ละตัวนั้นมีไว้สำหรับอาการเจ็บป่วยแบบไหน และปริมาณที่ต้องใช้อย่างถูกต้องเป็นเท่าไร
ความเปลี่ยนแปลงอีกอย่างหนึ่งก็คือตำแหน่งที่ใช้แสดงรายละเอียด แพ็คเกจแบบใหม่นี้จะประกอบด้วยข้อมูลสำคัญ (เช่น ยาตัวนี้มีไว้เพื่ออะไร ปริมาณในการใช้) ทั้งด้านหน้าและด้านหลังของแพ็คเกจ ทำให้ง่ายต่อการเลือกตามความต้องการ
บทความ ปวดหัวตัวร้อนเป็นไข้ก็ไม่ต้องกังวล! แนะนำยาญี่ปุ่นที่นักท่องเที่ยวสามารถหาซื้อได้ด้วยตัวเอง ที่ทางเราเคยได้ลงไว้ ยังคงเป็นบทความจำเป็นสำหรับใช้อ้างอิง เพราะยาส่วนใหญ่ที่ขายในญี่ปุ่นนั้นยังคงมีแพ็คเกจและคำอธิบายเป็นภาษาญี่ปุ่นเท่านี่น ซึ่งการที่บริษัทอย่าง Matsumoto Kiyoshi ได้ก้าวออกมาจัดการเพื่อช่าวต่างชาตินั้นก็ได้ช่วยคลายความกังวลไปได้มาก
หากคุณรู้สึกไม่สบายระหว่างการท่องเที่ยวครั้งต่อไป มุ่งหน้าไปยังร้าน Matsumoto Kiyoshi แล้วลองมองหาสินค้าที่มีสัญลักษณ์ตามภาพด้านล่างได้เลย ยิ่งใกล้ปี 2020 ก็ยิ่งมีโอกาสที่จะพบสินค้าในแพ็คเกจที่เป็นภาษาอังกฤษมากยิ่งขึ้น!
(Thumbnail Credit: Torjrtx / Shutterstock.com)
เนื้อหาในบทความนี้ อัพเดทล่าสุด ณ วันที่เผยแพร่
เนื้อหาในบทความนี้ อัพเดทล่าสุด ณ วันที่เผยแพร่