คำศัพท์ที่นายหน้าจัดหาบ้านมักใช้
หากคุณเข้าใจคำศัพท์ที่มักใช้กันตอนหาห้องผ่านบริษัทนายหน้าอสังหาฯ ก็จะช่วยให้คุณถ่ายทอดสิ่งที่ต้องการได้ง่ายขึ้นและทำให้การหาห้องราบรื่นมากขึ้น มารู้ความหมายของคำศัพท์และการออกเสียงภาษาญี่ปุ่นต่อไปนี้กันเถอะ
・大家/大家さん (Ooya/ooyasan) – เจ้าของบ้าน
เจ้าของที่ดินหรือเจ้าของบ้าน โดยทั่วไปแล้วนิยมเรียกกันแบบเติมคำว่า san ด้านหลัง
・家賃 (Yachin) – ค่าเช่า
ค่าเช่ารายเดือนของอสังหาริมทรัพย์นั้นๆ
・管理費 (Kanrihi) – ค่าบำรุงรักษา, 共益費 (Kyouekihi) – ค่าส่วนกลาง
สำหรับ 2 คำนี้จะใช้แตกต่างกันไปตามสถานที่แต่ก็มีความหมายเหมือนกัน เป็นเงินที่จะถูกนำไปใช้ในส่วนต่างๆ เช่น ค่าทำความสะอาดพื้นที่ส่วนกลางอย่างทางเดินในอาคารและทางเข้า ค่าบำรุงรักษาลิฟต์และเสาอากาศต่างๆ ส่วนอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเสียค่าบำรุงรักษาหรือค่าส่วนกลางนั้น จะเป็นค่าใช้จ่ายที่แยกออกมาจากค่าเช่ารายเดือน
・敷金 (Shikikin) – เงินค้ำประกัน
เงินที่ต้องวางล่วงหน้าเพื่อเป็นค่าชดเชยในกรณีที่มีการค้างชำระในช่วงระยะเวลาของสัญญา และเพื่อเป็นหลักประกันค่าซ่อมแซมในกรณีที่ห้องเสียหาย เมื่อสัญญาสิ้นสุดลง คุณจะได้รับเงินมัดจำคืนตอนย้ายออก โดยหักลบด้วยเงินที่ค้างชำระและค่าซ่อมแซมที่อาจต้องจ่าย ส่วนใหญ่จะเก็บเป็นจำนวนเงินเท่าค่าเช่า 1 เดือน โดยในบางภูมิภาคอาจใช้คำว่า “保証金 (Hoshoukin)” ซึ่งมีความหมายเดียวกัน
・礼金 (Reikin) – เงินให้เปล่าในการเช่าบ้าน
เป็นเงินแสดงความขอบคุณที่มอบให้แก่เจ้าของบ้านหรืออสังหาริมทรัพย์นั้นๆ โดยเงินส่วนนี้เป็นเงินให้เปล่า ซึ่งจะไม่ได้รับคืนเมื่อย้ายออก ส่วนใหญ่จะเก็บเป็นจำนวนเงินเท่าค่าเช่า 1 เดือน บางแห่งที่ไม่มีการเก็บก็มีอยู่เช่นกัน
・更新料 (Koushinryou) – ค่าต่อสัญญา
เงินที่ต้องจ่ายเพื่อต่ออายุสัญญาเช่าในกรณีที่คุณจะทำการต่อสัญญาหลังจากหมดระยะเวลาสัญญา โดยทั่วไปจะมีการต่ออายุสัญญาทุกๆ 2 ปี และต้องจ่ายค่าต่อสัญญาเป็นจำนวนเงินเท่าค่าเช่า 1 เดือน
・間取り(Madori) – แปลนห้อง
การจัดวางห้องในบ้าน ซึ่งจะระบุเป็นตัวย่อที่ผสมกันระหว่างตัวเลขกับตัวอักษรภาษาอังกฤษ เช่น 1R, 2DK, หรือ 3LDK โดย
1R เป็นห้องรวมที่ไม่มีผนังกั้นระหว่างห้องครัวและห้องนั่งเล่น
D คือ ห้องรับประทานอาหาร
L คือ ห้องนั่งเล่น
ส่วนตัวเลขนั้นจะแสดงถึงจำนวนห้องที่ไม่รวมห้องที่ระบุด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษอย่าง DK และ LDK
・洋室 (Youshitsu) – ห้องแบบตะวันตก, 和室 (Washitsu) – ห้องแบบญี่ปุ่น
ห้องแบบตะวันตกจะเป็นพื้นไม้ และห้องแบบญี่ปุ่นจะเป็นพื้นเสื่อทาทามิ
・ユニットバス (Yunitto-basu) – ห้องอาบน้ำและห้องสุขารวมกัน, 風呂トイレ別 (Furotoire-betsu) – ห้องอาบน้ำและห้องสุขาแยกกัน
“ユニットバス” เป็นคำที่มาจากภาษาอังกฤษ (Unit Bath) หากถูกใช้โดยนายหน้าหาบ้านจะแปลว่าห้องอาบน้ำและห้องสุขาอยู่ในพื้นที่เดียวกัน ในทางกลับกัน หากใช้คำว่า “風呂トイレ別” จะหมายถึงห้องอาบน้ำและห้องสุขาแยกกันคนละห้อง
・洋式トイレ (Youshiki-toire) – ห้องสุขาแบบตะวันตก, 和式トイレ(Washiki-toire) – ห้องสุขาแบบญี่ปุ่น
“洋式トイレ” คือ ห้องน้ำแบบสากลที่ใช้กันทั่วไป ซึ่งที่พักทั่วไปจะเป็นห้องน้ำแบบตะวันตกอยู่แล้ว แต่สำหรับบ้านเก่าที่ก่อสร้างมานานแล้วอาจจะเป็นแบบ “和式トイレ” ที่ต้องนั่งยอง
・エアコン付き (Eakontsuki) – มีเครื่องปรับอากาศ
หมายถึง ห้องที่มีเครื่องปรับอากาศติดตั้งแล้ว ไม่จำเป็นต้องซื้อใหม่
・同居人 (Doukyonin) – ผู้อยู่อาศัยร่วม
หมายถึง คนที่อยู่ร่วมห้องเดียวกัน ตอนที่ทำสัญญาเช่าคุณจำเป็นต้องแจ้งว่าจะมีใครอาศัยอยู่บ้าง เนื่องจากที่พักอาศัยบางแห่งอาจเป็นที่พักสำหรับคนเดียว ดังนั้นตอนที่คุณหาบ้าน ขอให้แจ้งต่อนายหน้าด้วยว่าคุณมีผู้อยู่อาศัยร่วมด้วยหรือไม่
・連帯保証人 (Rentai-hoshounin) – ผู้ค้ำประกันในสัญญาเงินกู้
ผู้รับผิดชอบชำระเงินแทนผู้เช่า ในกรณีที่ผู้เช่าไม่ชำระค่าเช่าหรือไม่สามารถชดเชยความเสียหายเมื่อมีปัญหา อย่างเช่น อุปกรณ์พังได้
ประโยคที่ใช้บ่อยในการหาห้องไปจนถึงการทำสัญญาเช่า
① คิดถึงบริเวณที่คุณต้องการอยู่อาศัยและเงื่อนไขที่ต้องการไว้ล่วงหน้า
ก่อนที่คุณจะไปพบกับนายหน้าหาบ้าน ให้คุณลองหาข้อมูลคร่าวๆ ของแปลนที่พักและพื้นที่ที่คุณอยากอาศัยอยู่ทางอินเทอร์เน็ต โดยค่าเช่าจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับพื้นที่ ขนาด ปีที่ก่อสร้าง ฯลฯ ดังนั้นจึงควรทราบราคาตลาดโดยประมาณไว้ก่อน
เมื่อต้องการแจ้งความประสงค์กับนายหน้าหาบ้าน เราขอแนะนำให้กรอกข้อมูล “ใบตรวจสอบเงื่อนไขที่ต้องการ” และนำไปด้วย หากคุณจัดลำดับได้ว่าเงื่อนไขใดสำคัญกับคุณเป็นพิเศษ ก็จะช่วยให้การหาห้องราบรื่นยิ่งขึ้น
ใบตรวจสอบเงื่อนไขที่ต้องการ
https://www.mlit.go.jp/common/001334734.pdf
② บอกเงื่อนไขที่ต้องการกับนายหน้าแล้วไปดูสถานที่จริง
เมื่อคุณบอกเงื่อนไขไป บริษัทนายหน้าจะทำการเลือกอสังหาริมทรัพย์ที่เข้าข่ายขึ้นมาจำนวนหนึ่ง จากนั้นคนจากบริษัทก็จะพาคุณลงพื้นที่ไปสำรวจทำเลจริง ในการไปสำรวจสถานที่จริงนั้น ขอให้ลองตรวจสิ่งที่คุณไม่สามารถรู้ได้จนกว่าจะได้ไปดูจริงๆ เช่น ทิศทางของแสงแดด ความแรงของคลื่นโทรศัพท์สมาร์ทโฟน เป็นต้น นอกจากนี้ สภาพแวดล้อมรอบๆ ที่พักก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ควรดูไว้ด้วยเช่นกัน
[ ประโยคที่สามารถใช้ได้เวลาหาบ้านเช่า ]
・駅から5 (10、15、20) 分以内がいいです。
Eki kara go-hun(ju-ppun、juugo-hun、niju-ppun)inai ga iidesu.
ต้องการที่ที่ห่างจากสถาณีรถไฟไม่เกิน 5 (10, 15, 20) นาที
・家賃は4万円までにしたいです。
Yachin wa 4 (yon) man en made ni shitai desu.
※ 5 (go), 6 (roku), 7 (nana), 8 (hachi), 9 (kyu)
ต้องการที่ที่ค่าเช่าไม่เกิน 4 (5, 6, 7, 8, 9) หมื่นเยน
・敷金(礼金/更新料)はいくらですか。
Shikikin (reikin/koushinryou) wa ikura desuka.
เงินค้ำประกัน (เงินให้เปล่า/ค่าต่อสัญญา) เท่าไร?
・間取りは1K(1DK/1LDK/2Kなど)がいいです。
Madori wa 1K (wan-K) ga iidesu.
※ 1DK (wan-DK), 1LDK (wan-LDK), 2K (ni-K)
ต้องการแปลนห้องแบบ 1K (1DK, 1LDK, 2K)
・洋室がいいです。
Youshitsu ga iidesu.
ต้องการห้องแบบตะวันตก
・同居人は1人(いない)です。
Doukyonin wa hitori (inai) desu.
※ 2人 (futari), 3人 (san-nin), 4人 (yo-nin)
มีผู้อยู่อาศัยร่วม 1 คน (ไม่มี)
※ 2 คน, 3 คน, 4 คน
・2階以上がいいです。
Nikai ijou ga iidesu.
อยากได้ห้องที่อยู่ชั้น 2 ขึ้นไป
・スーパー(コンビニ)は近いですか。
Supā(konbini) wa chikaidesuka.
อยู่ใกล้กับซูเปอร์มาร์เก็ต (ร้านสะดวกซื้อ) ไหม?
・治安はいいですか。
Chian wa iidesuka.
ปลอดภัยไหม?
③ ตอนทำสัญญา
・名前(電話番号/勤め先など)はどこに書きますか。
Namae (denwa-bangou/tsutome-saki) wa doko ni kakimasuka?
ให้เขียนชื่อ (เบอร์โทรศัทพ์/สถานที่ทำงาน) ตรงไหน?
・連帯保証人がいます。
Rentai-hoshounin ga imasu.
ฉันมีคนค้ำประกัน
・保証会社を使いたいです。
Hoshou-gaisha wo tsukaitaidesu.
ฉันต้องการใช้บริษัทค้ำประกัน
* ในกรณีที่ไม่มีผู้ค้ำประกัน คุณสามารถจ่ายเงินเพื่อให้บริษัทค้ำประกันมาเป็นตัวแทนของผู้ค้ำประกันได้
・〇月〇日ごろに入居したいです。
〇gatsu 〇nichi goro nyuukyo shitaidesu.
ต้องการเข้าอยู่อาศัยในช่วงเดือน 〇 วันที่ 〇
・初期費用はいくらですか?
Shoki-hiyou wa ikuradesuka.
ค่าใช้จ่ายแรกเข้าอยู่ที่เท่าไร?
・これは何のための費用ですか?
Kore wa nanno tameno hiyou desuka?
อันนี้เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับอะไร?
เวลาทำสัญญา อาจมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าเปลี่ยนกุญแจและค่าประกันเพลิงไหม้ต่างๆ ที่นอกเหนือจากค่าเช่า ค่ามัดจำและเงินให้เปล่าเกิดขึ้นได้ ดังนั้น ขอให้คุณถามเสมอหากมีค่าใช้จ่ายที่ไม่ชัดเจนเพิ่มขึ้นมา
สำหรับค่าใช้จ่ายที่จำเป็นนั้น คุณสามารถเข้าไปดูในบทความด้านล่างนี้เพื่อใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นได้
ค่าใช้จ่ายแรกเข้าในการเช่าอสังหาริมทรัพย์
https://tsunagulocal.com/466/
สรุป
คุณอาจกังวลเกี่ยวกับการทำสัญญาเช่าบ้านที่ต้องใช้เงินเป็นจำนวนมาก การตั้งความต้องการและงบประมาณของคุณเอาไว้ล่วงหน้า จากนั้นทำการตรวจสอบราคาค่าเช่าตามท้องตลาดในบริเวณโดยรอบ จะช่วยให้การหาห้องของคุณนั้นราบรื่นขึ้นเป็นอย่างมาก ลองค้นหาที่อยู่อาศัยที่ตรงใจคุณด้วยประโยคเหล่านี้ดูสิ!
หากมีคำถาม คำแนะนำ หรือข้อเสนอแนะใดๆ เกี่ยวกับบทความของเรา สามารถติดต่อและติดตามเราผ่านทางเฟซบุ๊กได้เลย !
เนื้อหาในบทความนี้ อัพเดทล่าสุด ณ วันที่เผยแพร่